fbpx

เล็บเท้าจม

เล็บเท้าจม เล็บขบส่วนปลาย

เล็บจม คือ การมีเนื้อบริเวณขอบเล็บส่วนปลายหนาตัวขึ้น ทำให้เล็บไม่สามารถงอกออกมาพ้นปลายนิ้วได้ ทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมามากมาย

เล็บเท้าจม ส่วนปลายเล็บไม่สามารถงอกออกมาได้

เล็บเท้าจม

อาการเล็บจม

  • พบบ่อยในนิ้วหัวแม่เท้า
  • เนื้อปลายเล็บหนาตัวขึ้น คล้ายๆกำแพงกั้น ไม่ให้เล็บงอกยาวพ้นเนื้อปลายเล็บออกมาได้
  • ทำให้เกิดเล็บขบ เล็บจม เนื้อปลายเล็บอักเสบ มีแผลเรื้อรัง หรือมีแผลติดเชื้อได้
  • มีอาการเจ็บเนื้อปลายเล็บตลอดเวลา เดินแล้วเจ็บ ใส่รองเท้าแล้วเจ็บ
  • เล็บผิดรูป
อ่านเพิ่มเรื่องเล็บขบได้ที่นี่ครับ
เล็บจมเกิดได้อย่างไร
สาเหตุของเล็บจม

สาเหตุของเล็บจม

  • มักเกิดจากอุบัติเหตุต่างๆที่ทำให้เล็บหลุด เช่น
    • ของแข็งตกใส่เล็บเท้า
    • เล็บไปเกี่ยวกับของแข็ง
  • เล่นกีฬาแล้วเล็บดำ แล้วเล็บหลุดร่อนออกไป มักพบในนักวิ่ง หรือกีฬาที่ต้องกระโดดบ่อยๆ เช่นนักบาส
  • ตัดเล็บไม่ถูกวิธี
  • เล็บผิดรูปแต่กำเนิด
อ่านเรื่องวิธีตัดเล็บที่ถูกต้องได้ที่นี่ครับ

ทำไมเล็บหลุดจึงเป็นสาเหตุของเล็บจม

  • การเดินของเราประกอบไปด้วยจังหวะต่าง ได้แก่ ส้นลงพื้น เท้าวางราบ ส้นยกขึ้น และเท้าดันตัวไปข้างหน้า
  • ในจังหวะสุดท้าย เท้าดันตัวไปข้างหน้า จังหวะนี้ นิ้วหัวแม่เท้าจะจิกพื้น และจะมีแรงจากพื้นดันใต้นิ้วหัวแม่เท้าด้วยเช่นกัน
  • ในเล็บที่ปกติ ตัวเล็บจะมีหน้าที่ต้านแรงจากพื้นที่ขึ้นมาที่นิ้วเท้า
  • แต่เมื่อไม่มีเล็บ ก็จะไม่มีตัวต้านแรง และทำให้เนื้อบริเวณใต้นิ้วหัวแม่เท้าถูกดันขึ้นมาบริเวณส่วนปลายเล็บมากขึ้น

  • เมื่อเป็นนานๆเข้า เนื้อปลายเล็บหนาตัวขึ้น คล้ายๆกำแพงกั้น ไม่ให้เล็บงอกยาวพ้นเนื้อปลายเล็บออกมาได้

การรักษาเล็บจมทำอย่างไร

              ถ้าไม่มีอาการ หรืออาการไม่มาก อาจลองรักษาตามนี้ก่อนก็ได้ครับ

  • ทาครีมออย บริเวณเนื้อปลายเล็บ ช่วยให้เนื้อนุ่ม อ่อนตัวลง
  • ยัดก๊อซ ใต้เล็บบ่อยๆ ช่วยให้เล็บงอกออกมาแบบเชิดๆ และพ้นเนื้อปลายเล็บได้
  • ใช้อุปกรณ์ดัดเล็บ

การรักษาเล็บจมด้วยการผ่าตัด จะทำในกรณีที่มีอาการเป็นมา ปวดบวม เล็บออกแล้วแทงเนื้อปลายเล็บตลอดครับ

อ่านเพิ่มเรื่องการถอดเล็บได้ที่นี่ครับ

สรุป

เล็บจมเป็นเล็บขบแบบหนึ่ง ที่มีเนื้อส่วนปลายเล็บนูนขึ้น ทำให้เล็บไม่สามารถงอกออกมาได้ตามปกติ ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากเล็บหลุดจากอุบัติเหตุต่างๆนำมาก่อน การรักษาถ้าไม่มีอาการ หรืออาการไม่มากสามารถรักษาแบบไม่ผ่าตัดได้ แต่ถ้ามีอาการมาก ส่วนใหญ่จะต้องรักษาด้วยการผ่าตัดตกแต่งเนื้อส่วนปลายเล็บครับ